ภาษีน่ารู้คู่ประกัน | ทำประกันไว้ อย่าลืมเอาเบี้ยประกันภัยมา ลดหย่อนภาษี
×

ทำประกันไว้ อย่าลืมเอาเบี้ยประกันภัยมา ลดหย่อนภาษี


ปัจจุบันค่าเบี้ยประกันภัยที่กรมสรรพากร สามารถยินยอมเพื่อให้ผู้มีเงินได้ นำมาหัก ลดหย่อนภาษี เงินได้บุคคลธรรมดา โดยมี สามประเภทหลักๆ คือค่าเบี้ยประกันชีวิตของตัวผู้มีเงินได้เอง โดยจะต้องนำมาหักลดหย่อนได้ตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 100,000 บาท

และจะต้องมีเงื่อนไขคือ ค่าเบี้ยประกันชีวิต ไม่รวมค่าเบี้ยประกันภัย สำหรับสัญญาเพิ่มเติมอื่น ๆ และยังต้องเป็นกรมธรรม์ประกันชีวิต ที่มีกำหนดระยะเวลาตั้งแต่สิบปีขึ้นไป ส่วนในกรณีเป็นกรมธรรม์ประกันชีวิต ซึ่งถือได้ว่ามีผลประ โยชน์ตอบแทนคืน และผลประโยชน์ตอบแทนคืนนั้นจะต้องไม่เกินร้อยละยี่สิบ ของเบี้ยประกันชีวิตรายปีหรือ เบี้ยประกันชีวิตสะสม ซึ่งบริษัทประกันชีวิตที่ทำการออกกรมธรรม์ ต้องเป็นบริษัทที่ประกอบกิจการในประเทศไทยเท่านั้น

ค่าเบี้ยประกันสุขภาพของบิดา ที่นำมาหัก ลดหย่อนภาษี เงินได้
ซึ่งจะสามารถนำมาหักลดหย่อนภาษีได้ตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 15,000 บาท และมีเงื่อนไขคือ ผู้มีเงินได้จะต้องเป็นบุตรโดยชอบว่าด้วยกฎหมายของบิดา มารดา และบิดา มารดา มีเงินได้พึงประเมินไม่เกิน สามหมื่นบาท และหากผู้มีเงินได้ มิได้อยู่ในประเทศไทย แต่บิดา มารดาต้องอยู่ในประเทศไทย ส่วนในกรณีผู้มีเงินได้หลายคนร่วมกันทำการชำระเบี้ยประกันสุขภาพของบิดา มารดา แล้วให้เฉลี่ยหักลดหย่อนค่าเบี้ยประกันสุขภาพของบิดา มารดาตามจำนวนของผู้มีเงินได้ แต่รวมกันไม่เกินหนึ่งหมื่นห้าพันบาท

ค่าเบี้ยประกันชีวิตแบบบำนาญของตัวผู้มีเงินได้เอง
สามารถนำมาหักลดหย่อนภาษีได้ตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกินร้อยละ 15 ของเงินได้ แต่ต้องไม่เกิน สองแสนบาท เมื่อรวมกับเงินที่จ่ายเพื่อเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กองทุนสงเคราะห์ครูโรงเรียนเอกชน กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ หรือค่าซื้อหน่วยลงทุนกองทุนรวม เพื่อใช้ในการเลี้ยงชีพแล้วต้องไม่เกิน ห้าแสนบาท มีเงื่อนไขคือ เป็นกรมธรรม์ประกันชีวิตที่มีกำหนดระยะเวลาตั้งแต่ 10 ปีขึ้นไป โดยผู้มีเงินได้ต้องได้ จะต้องรับผลประโยชน์เงินบำนาญ โดยผู้มีเงินได้จะต้องมีอายุตั้งแต่ 55 ปีขึ้นไป จนถึงอายุ 85 ปีหรือมากกว่านั้น ทั้งนี้ต้องทำการจ่ายเบี้ยประกันภัยครบถ้วน ก่อน จึงจะได้รับผลประโยชน์เงินบำนาญ และผู้มีเงินได้จะได้รับผลประโยชน์เงินบำนาญเป็นรายงวด อย่างสม่ำเสมอขณะมีชีวิตอยู่ ส่วนบริษัทประกันชีวิตที่ออกกรมธรรม์นั้น จะต้องเป็นบริษัทที่ประกอบกิจการในประเทศไทย
การฝากเงินในรูปแบบประกันชีวิต
คลายข้อสงสัยกับการลดหย่อนภาษี
หลายคนสงสัยกันว่า หากพ่อ-แม่ ซื้อประกันชีวิตให้ลูก แล้วพ่อ-แม่เป็นผู้ชำระเบี้ยประกันชีวิต แต่จะนำค่าเบี้ยประกันชีวิตที่จ่ายไปนั้น มาหักลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของ พ่อ-แม่ได้หรือไม่ บอกเลยว่าไม่ได้ เพราะกฎหมายกำหนดให้นำค่าเบี้ยประกันชีวิตที่ซื้อให้กับตนเอง หรือค่าเบี้ยประกันชีวิตที่เป็นของคู่สมรสที่ไม่มีเงินได้ รวมถึงค่าเบี้ยประกันสุขภาพที่ซื้อให้พ่อ-แม่ เท่านั้น จึงจะสามารถนำมาหักลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาได้ ซึ่งการหักลดหย่อนเบี้ยประกันชีวิต จะช่วยลดภาษีเงินได้สูงสุดสามแสนบาทต่อ ปี

การฝากเงินในรูปแบบประกันชีวิต การฝากเงินในรูปแบบประกันชีวิต
การฝากเงินกับสถาบันการเงิน หลายคนคิดว่าอาจจะไม่คุ้มค่าอีกแล้ว เพราะมีดอกเบี้ยที่ต่ำ และดอกเบี้ยที่ได้ก็ยังถูกหักภาษีอีก 15% ส่วนการฝากเงินในรูปแบบฝากกับประกันชีวิตนั้นจะให้ผลที่คุ้มค่ากว่า ด้วยเหตุผลที่ว่าการทำประกันชีวิตจะสามารถนำมาหักลดหย่อนเบี้ยประกันชีวิตได้ ซึ่งยังสามารถคืนเงินภาษีได้ตั้งแต่ 10 เปอร์เซ็นต์ ถึง 37 เปอร์เซ็นต์ จะเห็นได้ว่า แค่ค่าลดหย่อนภาษี ก็ถือว่าคุ้มค่าแล้ว และยังไม่ได้นับรวมถึงผลประโยชน์ตอบแทนที่ได้รับจากกรมธรรมอีกมาก เพราะหลังจากการการหักลดหย่อนเบี้ยประกันชีวิต ตารางแสดงอัตราการจ่ายภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา จากเดิมสามารถลดหย่อนได้สูงสุดหนึ่งแสนบาท ปัจจุบัน สามารถหักลดหย่อนได้สูงสุดสามแสนบาท ซึ่งทางรัฐบาลได้มีการอนุมัติให้สามารถหักลดหย่อนภาษีเพิ่มจากหนึ่งแสนบาทเป็นสามแสนบาท แต่ส่วนที่เพิ่มขึ้นสองแสนบาทนั้น ต้องเป็นการทำประกันชีวิตแบบบำนาญ เท่านั้น และจะต้องไม่เกิน 15 เปอร์เซ็นต์ ของเงินได้พึงประเมิน และเมื่อรวมกับเงินได้ ที่จะต้องจ่ายเข้ากองทุนประเภทเดียวกันอื่นๆ อย่างกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กบข. หรือกองทุนสงเคราะห์ตามกฎหมาย และเงินลงทุนกองทุน อาร์เอ็มเอฟแล้วจะต้องไม่เกิน 5 แสนบาท

การฝากเงินในรูปแบบประกันชีวิต กรมธรรม์ประกันชีวิตแบบบำนาญ จะสามารถนำไปใช้สิทธิหักลดหย่อนภาษีเงินได้ และจะต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ คือจะต้องมีระยะเวลาเอาประกันภัยในระยะเวลาสิบปีขึ้นไป โดยนับตั้งแต่เริ่มทำประกันชีวิต จนถึงอายุสุดท้ายที่รับบำนาญและเริ่มจ่ายเงินบำนาญตั้งแต่ช่วงอายุ ห้าสิบห้าปีขึ้นไป จนถึงอายุไม่ต่ำแปดสิบห้าปี ซึ่งจะไม่มีการจ่ายผลประโยชน์อื่นๆ และ ก่อนทำการรับเงินบำนาญ ยกเว้นผลประโยชน์กรณีการเสียชีวิต ซึ่งในกรณีที่เสียชีวิตในช่วงก่อนรับเงินบำนาญ จะทำให้ผลประ โยชน์ ที่ได้รับอาจจะมีจำนวนมากกว่าเบี้ยประกันภัยที่ชำระไปเพียงเล็กน้อย

แต่กรณีเสียชีวิตในช่วงรับเงินบำนาญนั้น ผลประโยชน์ที่ได้รับจะไม่เกินเบี้ยประกันภัยที่ผู้เอาประกันภัยชำระมาทั้งหมด แล้วนำมาหักด้วยผลประโยชน์เงินบำนาญที่ได้รับไปแล้วทั้งหมด ซึ่งจะไม่มีการจ่ายผลประโยชน์อื่นๆ แต่ในวันครบกำหนดชำระเบี้ยประกันภัย หรือวันครบรอบปีกรมธรรม์ประกันภัยในปีสุดท้ายก่อนรับเงินบำนาญ ซึ่งการจ่ายเงินบำนาญ จะต้องจ่ายเป็นงวดที่มีความสม่ำเสมอ และต้องมีวงเล็บไว้ด้วยว่าเป็นกรมธรรม์ บำนาญแบบลดหย่อนได้ การฝากเงินในรูปแบบประกันชีวิต

ติดต่อทำประกันกับตัวแทนผู้เชี่ยวชาญที่ได้รับการรับรอง

เพราะการให้ข้อมูลการทำประกันสุขภาพเป็นเรื่องสำคัญ และมีรายละเอียดเยอะ คนทั่วไปอ่านแล้วตีความหมายได้ยาก หรืออาจคลาดเคลื่อน
เพื่อป้องกันปัญหายุ่งยากที่เกิดขึ้นภายหลัง ทีมงานเราจึงมุ่งเน้นให้ข้อมูลได้อย่างถูกต้อง บริการหลังการขายสม่ำเสมอต่อผู้ทำประกันทุกท่าน



เสกสรร ฉัตรพัฒนพงศ์ (เสก)
ใบอนุญาต: 6001036740
พื้นที่ : กรุงเทพมหานคร และปริมณฑล
E-mail : A064813@ktaxa.com


ติดต่อทำประกันกับตัวแทน
ผู้เชี่ยวชาญที่ได้รับการรับรอง

เพราะการให้ข้อมูลการทำประกันสุขภาพเป็นเรื่องสำคัญ และมีรายละเอียดเยอะ คนทั่วไปอ่านแล้วตีความหมายได้ยาก หรืออาจคลาดเคลื่อน เพื่อป้องกันปัญหายุ่งยากที่เกิดขึ้นภายหลัง ทีมงานเราจึงมุ่งเน้นให้ข้อมูลได้อย่างถูกต้อง บริการหลังการขายสม่ำเสมอต่อผู้ทำประกันทุกท่าน

เสกสรร ฉัตรพัฒนพงศ์ (เสก)
ใบอนุญาต: 6001036740
A064813@ktaxa.com
พื้นที่ : กทม. และปริมณฑล

BKKCARE- ©2017 - ตัวแทนประกันชีวิตกรุงไทยแอกซ่า โทรศัพท์ : 02-739-9332
ประกันสุขภาพดี.com | ประกันออมทรัพย์.com | ประกันตลอดชีพ.com | rentcondobkk.com | https://www.scancondo.com
BKKCARE- ©2017
ตัวแทนประกันชีวิตกรุงไทยแอกซ่า
โทรศัพท์ : 02-739-9332
มือถือ : 090-2995614