โรคภัยไข้เจ็บ | 8 เรื่องที่คนมักเข้าใจผิดเกี่ยวกับโรคไวรัสตับอักเสบบี
×

8 เรื่องที่คนมักเข้าใจผิดเกี่ยวกับโรคไวรัสตับอักเสบบี


ถ้าพูดถึงโรค “ไวรัสตับอับเสบบี” เชื่อว่าหลายคนรู้จัก เพราะเราเรียนและได้ยินชื่อโรคนี้อยู่ตลอด แม้แต่รายชื่อวัคซีนก็มีวัคซีนของโรคไวรัสตับอับเสบบีเป็นวัคซีนแรกๆ ที่เด็กต้องได้รับนอกเหนือไปจากวัคซีนป้องกันโรควัณโรค บาดทะยัก และโปลีโอ

แต่ถึงแม้ชื่อโรคจะคุ้นเคย แต่เราก็มั่นใจว่าหลายคนยังมีความเข้าใจผิดๆ เกี่ยวกับโรคไวรัสตับอับเสบบีอยู่ เลยจะมาไขข้อสงสัยของใครหลายๆ คนกันค่ะ

อาหารที่เสี่ยงตับอักเสบ
  1. โรคไวรัสตับอับเสบบีไม่ใช่โรคที่ติดต่อกันทางน้ำลาย สามารถกอดจูบ (จูบได้แต่ภายในปากต้องไม่มีบาดแผล) ทานข้าวร่วมกัน ดื่มน้ำร่วมกันได้ และไม่ติดต่อผ่านทางลมหายใจ
  2. โรคไวรัสตับอับเสบบีติดต่อกันทางสารคัดหลั่งอื่นๆ เช่น น้ำเหลือง น้ำเชื้อ และเลือด ที่ผ่านเข้าสู่ร่างกายทางบาดแผล ดังนั้นการติดต่อจะผ่านทางการมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ใช้ถุงยางอนามัย ใช้เข็มฉีดยาร่วมกัน ใช้เข็มที่สักหรือเจาะหูร่วมกัน และติดต่อทางกรรมพันธุ์จากแม่สู่ลูก ดังนั้นวิธีติดต่อจะคล้ายกับโรคเอดส์มาก
  3. โรคไวรัสตับอับเสบบีแบ่งเป็น 2 ชนิดใหญ่ๆ คือแบบเฉียบพลัน และแบบเรื้อรัง หากเป็นแบบเฉียบพลันจะเป็นแล้วหายขาดเลยภายใน 6 เดือน แล้วร่างกายจะสร้างภูมิคุ้มกันขึ้นมาจนไม่กลับไปเป็นอีก แต่แบบเรื้อรังจะเป็นนานมากกว่า 6 เดือน เฉพาะผู้ป่วยที่ร่างกายสร้างภูมิคุ้นกันขึ้นมาไม่แข็งแรงเพียงพอที่จะสู้กับเชื้อไวรัสได้ จนทำให้กลับมาเป็นโรคอีก
  4. นอกจากจะมีผู้ป่วยโรคไวรัสตับอับเสบบีแล้ว ยังมีผู้ที่เป็นเพียงพาหะ คือผู้ที่มีเชื้ออยู่ในร่างกายแต่ไม่แสดงอาการป่วยออกมา (เช่นเดียวกันกับโรคเลือดจาง หรือธาลัสซีเมีย และอื่นๆ) ดังนั้นตอนตรวจร่างกายก่อนแต่งงานควรหาเชื้อโรคไวรัสตับอับเสบบีด้วย
  5. โรคไวรัสตับอับเสบบี ตามชื่อโรค มีไวรัสทำให้ตับอักเสบ จนทำให้มีอาการป่วย เช่น เบื่ออาหาร อ่อนเพลีย ท้องร่วง ตัวเหลือง ตาเหลือง ปวดกระเพาะ กล้ามเนื้อ และตามข้อต่างๆ หากเป็นแบบเรื้อรังอาจลุกลามจนเป็นโรคมะเร็งตับได้
  6. นอกจากนี้ยังมีโรคไวรัสตับอับเสบเอ ซี ดี และอี อีกด้วย แต่โรคไวรัสตับอับเสบบีเป็นชนิดที่พบบ่อยที่สุด และอันตรายจนถึงขั้นเสียชีวิตได้ในภายหลัง (หากเป็นเรื้อรัง)
  7. โดยปกติเด็กเล็กแพทย์จะนัดฉีดวัคซีนโรคไวรัสตับอับเสบบีให้ครบ 3 เข็มอยู่แล้ว แต่เมื่อโตขึ้นอาจมีการฉีดวัคซีนกระตุ้น แล้วแต่ความเหมาะสมและดุลยพินิจของแพทย์ ทางที่ดีควรตรวจสุขภาพ และตรวจเลือดทุกปี เพื่อตรวจว่ายังมีวัคซีนป้องกันโรคไวรัสตับอับเสบบีอยู่ในร่างกายหรือไม่
  8. ตับอักเสบ
  9. พบผู้ป่วยที่เป็นโรคไวรัสตับอับเสบบีน้อยลงเรื่อยๆ จนยอดผู้ป่วยปัจจุบันเหลืออยู่แค่ 1-3% เท่านั้น จากการที่คนไทยได้รับวัคซีนป้องกันโรคไวรัสตับอักเสบบีกันตั้งแต่เด็กๆ เพราะฉะนั้นโรคนี้ไม่ได้พบบ่อยอย่างที่ใครหลายๆ คนคิด
เพราะฉะนั้นโรคไวรัสตับอับเสบบีก็ไม่ได้น่ากลัว หรือน่ารังเกียจ ต้องระมัดระวังเป็นพิเศษอย่างที่ใครหลายคนคิดแล้วนะคะ แต่ทางที่ดีหมั่นตรวจสุขภาพอยู่เป็นประจำ และรับวัคซีนเพื่อป้องกันโรคตามที่แพทย์แนะนำ ก็เป็นทางออกที่ดีที่สุด เพื่อเพิ่มความปลอดภัย ความอุ่นใจให้แก่คุณและครอบครัวค่ะ

ติดต่อทำประกันกับตัวแทนผู้เชี่ยวชาญที่ได้รับการรับรอง

เพราะการให้ข้อมูลการทำประกันสุขภาพเป็นเรื่องสำคัญ และมีรายละเอียดเยอะ คนทั่วไปอ่านแล้วตีความหมายได้ยาก หรืออาจคลาดเคลื่อน
เพื่อป้องกันปัญหายุ่งยากที่เกิดขึ้นภายหลัง ทีมงานเราจึงมุ่งเน้นให้ข้อมูลได้อย่างถูกต้อง บริการหลังการขายสม่ำเสมอต่อผู้ทำประกันทุกท่าน



เสกสรร ฉัตรพัฒนพงศ์ (เสก)
ใบอนุญาต: 6001036740
พื้นที่ : กรุงเทพมหานคร และปริมณฑล
E-mail : A064813@ktaxa.com


ติดต่อทำประกันกับตัวแทน
ผู้เชี่ยวชาญที่ได้รับการรับรอง

เพราะการให้ข้อมูลการทำประกันสุขภาพเป็นเรื่องสำคัญ และมีรายละเอียดเยอะ คนทั่วไปอ่านแล้วตีความหมายได้ยาก หรืออาจคลาดเคลื่อน เพื่อป้องกันปัญหายุ่งยากที่เกิดขึ้นภายหลัง ทีมงานเราจึงมุ่งเน้นให้ข้อมูลได้อย่างถูกต้อง บริการหลังการขายสม่ำเสมอต่อผู้ทำประกันทุกท่าน

เสกสรร ฉัตรพัฒนพงศ์ (เสก)
ใบอนุญาต: 6001036740
A064813@ktaxa.com
พื้นที่ : กทม. และปริมณฑล

BKKCARE- ©2017 - ตัวแทนประกันชีวิตกรุงไทยแอกซ่า โทรศัพท์ : 02-739-9332
ประกันสุขภาพดี.com | ประกันออมทรัพย์.com | ประกันตลอดชีพ.com | rentcondobkk.com | https://www.scancondo.com
BKKCARE- ©2017
ตัวแทนประกันชีวิตกรุงไทยแอกซ่า
โทรศัพท์ : 02-739-9332
มือถือ : 090-2995614